วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทริปสถาบันอาศรมศิลป์และโรงเรียนรุ่งอรุณ

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
อาคารเป็นแบบอยู่เป็นหมู่เรือน สร้างอยู่บนน้ำทั้งหมดอาศัยอยู่รวมกันเป็นเครือญาติ ด้านหลังเป็นทุ่งกว้างใช้สำหรับเพาะปลูก โดยรอบสามารถสัญจรรอบตัวบ้านได้เนื่องจากมีกระดานไม้ปูอยู่ ในบางจุดมีการใช้วัสดุสมัยใหม่มาใช้แก้ปัญหาในเรื่องต่างๆเช่น แผ่นสังกะสี นำมาทำเป็นรางรองน้ำใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่วนโครงสร้างบางส่วนก็ใช้วัสดุสมัยใหม่ผสมกับของเดิมที่มีอยู่ ทำให้เห็นถึงการผสมผสานของวัฒนธรรมพื้นถิ่นและสมัยใหม่ได้เด่นชัด
มีการเล่นระดับของ space อยู่หลายจุด ทำให้เกิดการใช้งานได้หลากหลายและสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ชานหน้าบ้านมีการลดระดับของพื้นก่อนขึ้นตัวบ้าน ทำให้เกิดเป็นที่นั่งพักโดยไม่ได้ตั้งใจ และยังทำให้สามารถทิ้งหลังคาลงมาได้ต่ำกว่าเดิมอีกด้วย เมื่อมองจากภายนอกจึงดูสมส่วนมากกว่า และไม่จำเป็นต้องยกหลังคาให้สูงกว่าความเป็นจริง

โรงเรียนรุ่งอรุณ
โรงเรียนแห่งนี้มีแนวคิดที่จะออกแบบอาคารให้เหมือนกับบ้านไทยโบราณโดย จุดที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดจะเป็นส่วนของฝ่ายบริหารของโรงเรียน ที่เป็นอาคารแบบหมู่เรือน แต่ภายในถูกประยุกต์ให้เป็นรูปแบบสมัยใหม่ มีการนำเครื่องปรับอากาศเข้ามาใช้ ใต้ถุนถูกประยุกต์ให้สามารถใช้งานได้ เป็นห้องต่างๆ ส่วนชานเรือนด้านบน จะมีกระเบื้องหลังคาเมทัลชีทรองเอาไว้ก่อนส่วนหนึ่งเพื่อไม่ให้น้ำฝนไหลเข้าไปในห้องที่อยู่ด้านใต้ได้
ส่วนร้านค้าและโรงอาหารต่างๆก็มีส่วนสนับสนุนที่จะให้เด็กได้สัมผัสถึงความเป็นไทย โดยอุปกรณ์บางชนิดอาจจะใช้ใบตองเข้ามาช่วย หรือวัสดุที่เป็นธรรมชาติเพื่อปลูกฝังให้เด็กเกิดความอนุรักษ์ด้วยไปในตัว ลักษณะการออกแบบของตัวร้านค้าและห้องเรียนต่างๆก็ยังใช้ศิลปะแบบไทยประยุกต์เช่นกัน


สถาบันอาศรมศิลป์
เป็นสถาบันสอนการออกแบบในระดับปริญญาโท และเป็นบริษัทออกแบบอีกด้วยที่เน้นไปในเชิงอนุรักษ์นิยม ตัวอาคารเป็นไม้ในบางจุดใช้เป็นโครงสร้างรับน้ำหนัก แต่บางจุดใช้ตกแต่งเพียงอย่างเดียว มีปูนเข้ามาผสมด้วยเพื่อความแข็งแรง และหลังคามุงด้วยหญ้าแฝก เพื่อให้เหมือนกับบ้านไทย แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องขนาดของบ้านไทยที่มีพื้นที่น้อยและไม่มีฝ้าเพดาน จึงได้เพิ่มระดับของชั้นขึ้นไปเป็นชั้นลอยให้สามารถใช้งานได้อีก ทำให้พื้นที่ที่มีอยู่ข้างบนอันเนื่องมาจากหลังคาที่สูงกว่าบ้านไทยทั่วไป ไม่ต้องสูญเปล่า ซึ่งเป็นข้อหนึ่งที่ตัวผู้เขียนประทับใจมาก เพราะสามารถแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่ใช้สอยได้เป็นอย่างดี และแก้ไขโดยที่นำข้อบกพร่องเรื่องspaceเพดานที่สูงมาแก้ แต่ยังคงความเป็นไทยประยุกต์ในเรื่องของสัดส่วนอาคารได้ โดยที่ไม่ต้องเพิ่มหมู่เรือนอีกเลย
Landscape ภายนอกก็ถูกจัดให้ล้อกับตัวอาคาร มีชานใหญ่สำหรับรับแขกเห็นเด่นอยู่ สูงประมาณ1.50 เมตร มีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ตรงข้ามทำให้มีความร่มรื่นชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา การจัดฟังก์ชั่นภายในของตัวสถาบันก็ทำไดอย่างลงตัว แบ่งสัดส่วนกันชัดเจน พื้นที่ใต้ถุนก็ไม่ทำให้เปล่าประโยชน์ใช้เป็นส่วนของห้องสมุดและห้องทำโมเดลได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น