วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทริปวันที่2

วันที่ 25 กรกฎาคม 2553
DAY 2 อากาศยังแจ่มใส มีฟ้าครึ้มบางช่วง แต่ฝนไม่ตก ช่วงบ่ายแดดแรงขึ้น ทำให้การเดินทางลำบากยิ่งขึ้น


นอนเช้าตื่นเช้าในวันที่สอง ช่างเป็นอะไรที่ดูสดใสอย่างบอกไม่ถูก วันนี้ล้อเริ่มหมุน8โมงกว่าไม่มาก ตามที่อาจารย์ตี๋ได้นัดหมายเอาไว้ ซึ่งดูเหมือนทุกคนก็เข้าใจดีมากันเร็วกว่าเข้าเรียนวิชาโพรเฟสเสียอีก สถานีแรกที่ลงจอดเลยคือ

วัดไหล่หินหลวง ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง
รูปแบบอาคารเป็นโบราณสถานแบบล้านนา ตัวโบราณสถานจะถูกออกแบบให้ถอยร่นไปจากทางเข้าพอสมควร และทิ้งระยะให้มีลานกว้างด้านหน้าทางเข้าเป็นเหมือนapproach เพื่อความสวยงาม และมีต้นไม้ใหญ่ขนาบสองข้างทาง และด้วยกำแพงของโบราณสถานเตี้ยกว่าปกติ และซุ้มประตูที่มีสัดส่วนเล็กกว่าทั่วไป จึงทำให้เมื่อมองเข้ามาจากทางเข้าแล้วดู ได้สัดส่วนที่สวยงามมากกว่า
แต่เดิม มีการปลูกต้นกล้วยเป็นแนวยาวเอาไว้ด้านหลังเพื่อเป็นสวนกล้วย เมื่อมองดูจากด้านหน้าจะได้บรรยากาศของโบราณสถานที่ตัดกับสีเขียวของดงกล้วยได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันได้ตัดทิ้งหมดแล้ว ซึ่งทำให้ความงามหายไปเสียส่วนหนึ่งด้วย ด้านข้างเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บข้อมูลและอุปกรณ์เกี่ยวกับข้าวของเครื่องใช้และประเพณีต่างๆในระแวกนั้น
ภายในโบราณสถาน ฟังก์ชั่นทั้งหมดจะเล็กและมีขนาดสัดส่วนเตี้ยกว่าอาคารใช้งานทั่วไปด้วยเช่นกัน แต่เมื่อมองจากรูปลักษณ์เพียงอย่างเดียวจะได้สัดส่วนที่งดงามมากกว่า




วัดพระธาตุลำปางหลวง ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
สิ่งที่สามารถเป็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นอันดับแรกคือ ความอลังการของตัววัด เนื่องจากตัววัดตั้งอยู่บนเนินดินที่มีการเล่นระดับให้สูงขึ้น และเมื่อมองตัวเจดีย์ที่อยู่บนวัดจะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่มากกว่าเดิม
ภายในวัดยังเป็นการประดับตกแต่งและออกแบบด้วยรูปแบบล้านนาอยู่ มีลานดินกว้างขวางซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทยอยู่มาก รูปแบบspaceภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน และในลานต้นโพธิ์ของวัดเป็นตัวอย่างที่ให้เห็นการลื่นไหลของspaceอย่างชัดเจน เมื่อตำแหน่งเปลี่ยน space ก็ค่อยๆเปลี่ยนตาม ทำให้เกิดการลื่นไหลของspace ได้เป็นอย่างดี






วัดปงยางคก(ทิพย์ช้างอนุสรณ์) ต.ปกยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
ภายในวัดเป็นลานต้นโพธิ์กว้าง มีวิหารพระแม่จ้าวจามเทวี ตั้งตระหง่านอยู่กลางลาน ซึ่งภายในลานปูด้วยหินกรวดขนาดเล็ก ส่วนตัววิหารจะถูกลดระดับพื้นให้ต่ำลงกว่าปกติ และเมื่อมองอาคารจากภายนอกจากจะเห็นเส้นขอบหลังคาของตัววิหารดูต่ำกว่าทุกที ภายในจะไม่มีฝ้าเพดาน แต่จะถูกโชว์โครงสร้างให้เห็นเพื่อไม่ให้เตี้ยเกินไปเมื่อเข้าไปอยู่ใน space ภายใน และเพื่อความสวยงามอีกด้วย




สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
รูปแบบบ้านหลังนี้เป็นแบบที่ค่อนข้างจะสมัยใหม่แล้ว ใช้โครงสร้างไม้ที่ดูเรียบเกลี้ยงและผ่านการขัดไสมาแล้ว มีใต้ถุนบ้าน ที่กว้างเพราะด้านบนชานเรือนมีการเชื่อมหลังเข้าด้วยกัน มีฟังก์ชั่นห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ที่มีขนาดใหญ่ และทางขึ้นบ้านมีหลายทาง ตัวห้องสุขาถูกแยกออกมาจากเรือนหลัก และโบกด้วยวัสดุที่เป็นปูน ในสวนหลังบ้านหลังนี้มีการอยู่อาศัยเป็นครอบครัวใหญ่ ซึ่งยังดูเป็นอาคารพื้นถิ่นสมัยใหม่อยู่มาก แต่เดิมบางหลังมีอายุมากกว่า100ปี แต่เพิ่งได้รับการบูรณะไป เพื่อรองรับสมาชิกรุ่นหลานที่เพิ่มมามากขึ้น มีหลายพื้นที่ๆใช้รวมกัน เช่นบริเวณปลูกพืชสวนครัว และเมื่อหลายๆเรือนมาอยู่รวมตัวกันจึงทำให้เกิด space เป็นลานกว้างขึ้น




จบวันที่สอง กลับมาสู่ที่พัก คิดว่าเมื่อวานนอนน้อยวันนี้ควรพักผ่อน แต่ทำไมไม่รู้ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด มีเพื่อนๆแวะเวียนมาลงรูปอยู่เสมอๆ ทำให้ห้องคึกครื้นอยู่ตลอด จึงทำให้ต้องตามน้ำอยู่เสมอๆ กลายเป็นว่าคืนที่สองร้องรำทำเพลงกันไปเกือบๆตี3 แล้วก็แยกย้าย(บ้าง)เพื่อเข้าไปนอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น