วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทริปวันที่7

วันที่30 กรกฎาคม 2553
DAY 7 ฟ้าครึ้มทั้งวัน แต่เมฆน้อยกว่าเมื่อวาน ถ่ายรูปแล้วเข้ากับโบราณสถานเป็นอย่างดี


เช้าวันใหม่อันแสนสดใส ต้องออกไปซื้อกับข้าวทานเองอีกแล้วในตอนกลางวัน จริงๆก็ไม่รังเกียจเรื่องอาหารการกินอยู่แล้ว แต่แอบสงสัยทุกที ว่าตอนกลางวันเวลาเราพักก็มีร้านอาหารเสมอเลย จริงๆไม่จำเป็นต้องซื้อเลยก็ได้นี่นา แต่เห็นอาจารย์บอกอาหารที่เราจะไปทาน มันไม่ค่อยอร่อย เลยซื้อกินก็ได้(ละกัน)

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
สิ่งประทับอันดับแรกก่อนที่จะได้เข้าไปชมตัวโบราณสถานก็คือ สะพานแขวนระนาบคู่ขนาดใหญ่ที่ใช้ข้ามแม่น้ำนั่นเอง แม้ว่าจะเป็นเพียงสะพานที่ให้คนข้าม แต่ด้วยวัสดุที่ใช้เป็นพื้นไม้และลวดสลิงขึงตึง กลับเข้ากับบรรยากาศของสถานที่ได้เป็นอย่างดี เหมือนเป็นการเตรียมตัวที่จะเข้าไปผจญภัยในโบราณสถาน
ตัววัดนี้ได้มีการสันนิษฐานว่าเป็นศูนย์กลางของเมืองเชลียงหรือเมืองศรีสัชนาลัย บางรายละเอียดแสดงให้เห็นถึงศิลปะแบบขอมเช่น ซุ้มประตูซึ่งเป็นประติมากรรมศิลาแลงประดับปูนปั้น แต่ตัวปรางค์ประธานของวัดเป็นศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น อาจเป็นเพราะว่าเป็นช่วงที่มีการรวมสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา จึงได้รับอิทธิพลเข้ามาด้วย ส่วนภายในโบราณสถานรอบๆปรางค์มีทางเดินและก่อผนังปิดอยู่สามชั้นด้วยกัน แต่ช่องทางเดินแต่ละช่องมีความกว้างไม่น่าเกิน1.50เมตร แต่ไม่รู้สึกอึดอัดเลย อาจเป็นเพราะมีการเจาะช่องแสงอยู่ตลอดบางเป็นบางช่วง และ แต่ละชั้นก็มีการเล่นระดับ ทำให้เป็นถึงความไม่น่าเบื่อจนเกินไป แต่ในอดีตได้มีการสันนิษฐานอีกว่าเป็นสถานที่ ที่ให้พระสงฆ์นั่งเรียงราย ล้อมอยู่ตลอดแนว และให้ประชาชนได้เดินผ่านเข้ามาตามทางนี้ ช่องแสงที่เจาะไว้ก็เพื่อให้ได้เห็นองค์พระนั่นเอง





วัดกุฎีราย
ตัววิหารถูกก่อด้วยศิลาแลงไปจนถึงหลังคา ส่วนตัวซุ้มของวิหารนี้จะแปลกกว่าที่อื่นตรงที่เป็น คอเบล ตัวอิฐจะถูกก่อขึ้นไปและเหลี่อมล้ำจนไปจบกันบนยอด จึงมีลักษณะเมื่อดูแล้วจะเป็นซุ้มปลายแหลม ในพ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้บูรณะโบราณสถานที่และมีการซ่อมแซมและเพิ่มเติมบางจุดใหม่เอาไว้ด้วย การเรียงอิฐในตำแหน่งอื่นๆก็ได้เรียงให้สัมพันธ์กับอาคารไม้เดิม




ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก
เป็นการออกแบบโดยใช้โครงสร้างสมัยใหม่ แต่มีแนวความคิดที่ดึงรูปแบบของโบราณสถานสมัยก่อนเอาไว้ด้วย วัสดุที่ใช้ก็เป็นอิฐ และศิลาแลงเหมือนโบราณสถานศรีสัชนาลัย มีการเจาะช่องแสงเป็นแนวตรง ซึ่งเหมือนกับช่องแสงในโบราณสถาน นอกจากนี้ยังออกแบบให้ space ภายในและภายนอก เชื่อมต่อกันอีกด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของโบราณสถานอีกด้วย
รูปแบบการสัญจรภายในเรียบง่ายแต่มีลูกเล่นที่การเล่นระดับ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำจนผู้เข้าชมงานเบื่อจนเกินไป และการให้ความสำคัญของตัวงาน โดยจะเจาะช่องแสงพอดีที่เตาทุเรียง เพื่อให้ได้รับแสงและอุณหภูมิที่พอเหมาะ แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถรักษาสภาพของเตาได้ไม่ดีนัก เพราะเตาสัมผัสกับอากาศที่เข้ามากัดกร่อนอยู่ดี ยังมีความชื้นอยู่ แต่ด้วยช่องแสงที่เจาะจากหลังคามานั้น ทำให้ตัวงานดูเด่นขึ้นมาทันที และตัวหลังคาก็ได้มีลูกเล่นเป็นระดับเพื่อให้เป็นการระบายความร้อนด้วยอีกวิธีหนึ่ง





วัดเจดีย์เก้ายอด
ความประทับใจแรกที่ได้พบคือ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นบนเขาและมีถนนตัดผ่านเป็นแนวโค้งทำให้ผู้ที่ขับรถผ่านไปมาได้ชมโบราณสถานแห่งนี้ได้โดยรอบด้าน และตัวผู้เขียนได้คิดสงสัยอีกว่า เพราะเหตุใดจึงไม่มีสถานที่ใช้สำหรับจอดพักรถให้ผู้เข้าชม แต่ตัวผู้เขียนกลับรู้สึกดีที่ไม่มีสถานที่ให้จอดรถ นั่นก็เพื่อไม่ให้มีคนเข้ามาในโบราณสถานมากจนเกินไป อาจจะกลายเป็นการเชื้อชวนให้เข้าไปทำลายโบราณสถานก็เป็นได้
ด้วยและตัวโบราณสถานก็เล่นระดับด้วยเช่นกันถูกยกให้สูงขึ้น ตามระดับของเชิงเขา และเชื่อมด้วยบันไดเป็นชั้นๆ ทำให้ดูยิ่งใหญ่มากขึ้น ส่วนด้านหลังของตัวโบราณสถานเป็นเชิงเขามีทางขึ้นสู่ด้านบนอีก ซึ่งเป็นโบราณสถานอีกที่หนึ่ง



วัดนางพญา
วัดนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อสมัยอยุธยาตอนต้น ตัววิหารเป็นศิลาแลง มีลายสลักวิจิตรงดงาม หลังคาเป็นกระเบื้องดินเผา ส่วนผนังถูกเจาะเป็นช่องแสงรูปสี่เหลี่ยมเช่นกัน



วัดเจดีย์เจ็ดแถว
เป็นวัดที่รวมรูปแบบต่างๆเอาไว้ด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงความสามารถของช่างในสมัยนั้นมีลานกว้างขวางอยู่2ทาง และถูกล้อมรอบด้วยกำแพงเตี้ย แต่สัดส่วนกับตัวปรางค์ ยังดูไม่ขัดกันมากเกินไป




วัดช้างล้อม
ลักษณะที่เด่นที่เห็นได้ชัดของวัดนี้คือมีรูปปั้นช้างล้อมอยู่โดยรอบ เป็นเสมือนส่วนฐาน ทำให้ดูเหมือนมีช้างคอยปกป้องตัวปรางค์เอาไว้ ทำให้ฐานชั้น2ของตัวปรางค์มีขนาดใหญ่และสูงมาก ดูอลังการและยิ่งใหญ่มาก และด้านหน้าของตัวปรางค์มีลานขนาดใหญ่ ขนาบอยู่2ข้าง เพื่อให้ปรางค์ดูยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีก



วัดสุวรรณคีรี
เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนยอดเขา ซึ่งกว่าจะขึ้นไปบนยอดได้นั้นต้องเดินขึ้นบันไดที่สูงชัน นับว่าเป้นความประทับใจแรกเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อได้ขึ้นไปบนยอดเขาและเห็นตัวโบราณสถานด้วยแล้วยิ่งประทับใจมากกว่า แม้ตัวโบราณสถานตั้งอยู่บนยอดเขา แต่มีต้นไม้ล้อมอยู่โดยรอบ เสียงและบรรยากาศที่ได้สัมผัสดูสงบกว่าวัดที่อยู่ด้านล่างเสียอีก มีเสียงสัตว์หลายชนิด ทำให้ตัวโบราณสถานและธรรมชาติโดยรอบดูกลืนกัน และด้วยตัวโครงสร้างที่สร้างเป็นชั้นๆให้เห็นเป็นขั้น เหมือนภูเขาด้วย เป็นเสมือนการล้อเข้ากับสภาพแวดล้อมอีกทางหนึ่ง และที่เป็นความประทับใจที่สุดของวัดสุวรรณคีรีอีกอย่างหนึ่งคือ การได้ขึ้นไปบนชั้นของปรางค์ และมองวิวทิวทัศน์ที่เกิดขึ้น



วัดเขาพนมเพลิง
เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนยอดเขาอีกฝั่งหนึ่งของวัดสุวรรณคีรี สร้างคู่กัน แต่ด้านบนยอดมีพื้นที่เล็กกว่า จึงทำให้มีพื้นที่ของวัดอยู่จำกัด แต่สิ่งที่ประทับใจในวัดนี้เป็นบรรยากาศมากกว่าที่ได้เห็นฝูงนกและคูน้ำพร้อมทุ่งหญ้าเขียวที่อยู่ด้านล่างของวัดพอดี



กลับที่พักวันนี้พยายามหาร้านอาหารที่น่าสนใจและยุงไม่กัด เพราะวันนี้เดินผ่านทุ่งทั้งวัน จึงได้ร้านอาหารที่อยู่ด้านหลังโรงแรม สวย หรู จัดร้านน่าสนใจมี space กว้างขวาง ทางเข้าด้านหน้าเป็นกระจก ดู space ภายในและภายนอกเชื่อมต่อกันเป็นอย่างดี ที่สำคัญ ราคาไม่แพงมาก สรุปวันนี้เหนื่อยมากๆ และอาหารก็อิ่มอร่อยมากๆ คาดว่าคืนนี้คงจะได้หลับพักผ่อนเสียที่ และสุดท้ายเป็นไปเหมือนที่คาดเอาไว้ นั่นคือได้นอนเกือบสว่าง (อีกแล้ว) แถมวันนี้มีเพื่อนที่น่ารักคือ เต้ เตชัส มานอนด้วย เพิ่มจำนวนห้องจากเดิม 5 คนเป็น 6 คน ขึ้นมาทันที บนเตียงที่มีความจุเท่าเดิมคือ3คนครึ่ง และที่สำคัญกว่านั้น มันกรนดังมากด้วย ขอบคุณเต้มากๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น