วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี


รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี


ส่วนที่ 1

ชีวะประวัติเบื้องต้น
รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ เป็นชาวจังหวัดสงขลา เป็นสถาปนิกและศิลปินอาวุโสดีเด่น เป็นที่ยอมรับในด้านสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะในด้านสถาปัตยกรรมแบบไทย ซึ่งในปัจจุบันมีสถาปนิกในด้านนี้น้อยมาก เป็นบุตรของ นายซ้อน – นางรื่น สุวรรณคีรี สมรสกับ นางลาวัณย์ สุวรรณคีรี มีธิดา ๓ คน ได้แก่ นางสาวดลฤดี สุวรรณคีรี, นางสาวปิยนุช สุวรรณคีรี และนางสาวพุทธชาติ สุวรรณคีรี

ท่านเป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งในจำนวนสถาปนิกไม่กี่คนในด้านนี้ที่ได้ศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมและสถาปัตยศิลป์แบบไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ได้ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์แบบประเพณีและแบบใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้นำเอาวิชาการแบบใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์แบบไทยในปัจจุบันได้เป็นผลสำเร็จเป็นอย่างดี รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรีได้อุทิศตนให้กับงานสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์เพื่อส่วนรวมมาเป็นเวลาเกือบ ๔๐ ปี รับใช้ศาสนาและสังคมด้วยผลงานศิลปกรรม มีผลงานจำนวนมากทั้งในพระราชอาณาจักรและในต่างประเทศ โครงการสำคัญที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการคือ วัดไทยกุสินารามหาวิหาร ประเทศอินเดีย วัดไทยที่ลุมพินี ประเทศเนปาล เป็นสถาปนิกและศิลปินที่อุทิศตนให้กับส่วนรวมในด้านสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์ เป็นผู้อนุรักษ์สร้างสรรค์ และถ่ายทอดวิชาการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นบุคคลที่มีคุณค่านับอเนกอนันต์ของประเทศ เป็นคนดีมีวิชาที่สมควรได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่งในผลงานและการทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง เป็นศิลปินที่มีคุณธรรมและจริยธรรมทั้งในชีวิตและผลงาน

รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๗

รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี มีความสนใจงานด้านสถาปัตยกรรมไทยมาตั้งแต่เด็ก ๆ ในขณะที่มีอายุ ๘ ขวบ พระครุปทุมธรรมธารี วัดสามบ่อ จังหวัดสงขลา ได้นำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เนื่องจากพระครูปทุมธรรมธารี มีความสามารถพิเศษ คือ เป็นช่างลาย เมื่อมีงานที่วัด ท่านพระครูฯ ก็จะลงมือเขียนลวดลายต่าง ๆ ด้วยตัวท่านเอง และเมื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี เกิดความสนใจและช่วยเป็นลูกมือ ท่านพระครูฯ จึงได้สอนการเขียนลายต่าง ๆ ให้ พระครูปทุมธรรมธารี นอกจากจะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการเขียนลายแล้ว ท่านยังมีความเชี่ยวชาญในการแกะลายฉลุไม้ ซึ่งใช้ประดับหน้าบันวัด กุฏิ โรงเรียน เป็นต้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่เป็นช่างเป็นจำนวนมาก และในทุก ๆ วันพระบรรดาช่างทั้งหลายจะมาแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กันและช่วยท่านพระครูฯ ทำงานต่าง ๆ และเมื่อช่างเหล่านั้นเห็นถึงความสนใจและตั้งใจของ รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี จึงช่วยกันถ่ายทอดงานช่างต่าง ๆ ให้ เช่น การแกะรูปหนังตะลุง ลายประดับอาคาร ลายประดับเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องลวดลายต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นเด็ก

ประวัติทางการศึกษา
• พ.ศ. 2488 ชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดสามบ่อ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และเริ่มเรียนลายไทยจากพระครูปทุมธรรมธารี เจ้าคณะอำเภอระโนด และจากช่างพื้นบ้าน
• พ.ศ. 2495 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
• พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษาชั้นเตรียมอุดมศึกษา ชั้นปีที่ ๑ จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ธนบุรี
• พ.ศ. 2499 สำเร็จการศึกษาชั้นเตรียมอุดมศึกษา ชั้นปีที่ ๒ จากโรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง กรุงเทพฯ
• พ.ศ. 2507 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• พ.ศ. 2515 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.) แผนกสถาปัตยกรรม ณ มหาวิทยาลัยเพ็นซิลวาเนีย (University of Pennsylvania) เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพ็นซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา


ประวัติการทำงาน
• พ.ศ. 2505 ครูสอนวิชาวาดเขียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ในขณะที่เป็นนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• พ.ศ. 2508-ปัจจุบัน อาจารย์ สอนวิชาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• พ.ศ. 2515-ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษสอนวิชาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• พ.ศ. 2523 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม]] คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• พ.ศ. 2528-ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษสอนวิชาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
• พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษสอนวิชาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัชสัมชัญ
• พ.ศ. 2541-ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รางวัลเกียรติยศ
จากการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมไทยจนเป็นที่ยอมรับ ทำให้ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ คนดีศรีมหาวชิราวุธ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาปนิกดีเด่น บุคคลตัวอย่างด้านการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมไทย สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่นด้านการสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมไทย ประเภทกิจกรรมและโครงการดีเด่น สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ และสืบทอดผลงานสถาปัตยกรรมไทย การยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (สถาปัตยกรรมไทย) ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ดม.ศ.) รางวัลนิคเคอิเอเชีย ไพรซ์ สาขาศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆอีกมากมาย
อาจารย์ภิญโญได้รับเชิดชูเกียรติจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศาสตราภิชาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 - 30 กันยายน 2554 ในสาขาสถาปัตยกรรม
• 2531: โล่เชิดชูเกียรติผู้บำเพ็ญประโยชน์ มูลนิธิมหาวชิราวุธ
• 2531: ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
• 2536: บุคคลตัวอย่างด้านอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมไทย สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
• 2536: ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• 2537: พระราชทานกิตติบัตร สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
• 2537: รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
• 2538: พระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ
• 2539: สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่นด้านการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมไทย คณะกรรมการวันอนุรักษ์มรดกไทย
• 2540: โล่เชิดชูเกียรติคนดีศรีมหาวชิราวุธ สมาคมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ
• 2540: สถาปนิกดีเด่นด้านการอนุรักษ์ สร้างสรรค์และสืบทอดผลงานสถาปัตยกรรมไทย คณะกรรมการวันอนุรักษ์มรดกไทย
• 2540: บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม คณะอนุกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
• 2543: รางวัลนิคเคอิ เอเชียไพรซ์ (สาขาศิลปวัฒนธรรม)(เข้ารับมอบรางวัล เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๓ ณ ประเทศญี่ปุ่น)
• 2544: รางวัลเอเซียแปซิฟิก (สาขาศิลปวัฒนธรรม)(ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นในด้านศิลปวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก)
• 2544: ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
• 2545: ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• 2546: ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
• 2549: เพชรสยาม มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม


เครื่องราชอิสริยาภรณ์
• เหรียญดุษฎีมาลา (เข็มศิลปวิทยา)
• เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 (จตุตถดิเรกคุณาภรณ์)
• ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
• ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)


ผลงานออกแบบ
• พ.ศ. ๒๕๐๙ ออกแบบอาคารประถมพุทธศาสตร์ จิตตภาวันวิทยาลัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
• พ.ศ. ๒๕๑๑ ออกแบบอาคารห้องสมุดวิจารณ์ธรรม จิตตภาวันวิทยาลัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
• พ.ศ. ๒๕๑๒
o ออกแบบอาคารมัธยมพุทธศาสตร์ จิตตภาวันวิทยาลัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
o ออกแบบตำหนักสมเด็จ จิตตภาวันวิทยาลัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
• พ.ศ. ๒๕๑๓ ออกแบบพระอุโบสถ วัดเขาช่องพราน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
• พ.ศ. ๒๕๑๔ ออกแบบฉากนาฏศิลป์ไทย ตอนนารายณ์ปราบนนทุก เพื่อเผยแพร่ศิลปะและนาฏศิลป์ไทยในงาน Thailand Night ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพ็นซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
• พ.ศ. ๒๕๑๖ ออกแบบหอพระพุทธรูปพนัสบดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
• พ.ศ. ๒๕๑๗ ออกแบบพระอุโบสถวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดชลบุรี
• พ.ศ. ๒๕๑๘
o ออกแบบพระอุโบสถวัดไทยนิยม อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
o ออกแบบตกแต่งพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จังหวัดสกลนคร
• พ.ศ. ๒๕๑๙ ออกแบบพระมหาเจดีย์วัดเกตุมวดี จังหวัดสมุทรสาคร
• พ.ศ. ๒๕๒๐ ออกแบบพระมหาเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ วัดธรรมมงคล พระโขนง กรุงเทพฯ
• พ.ศ. ๒๕๒๑
o ออกแบบศาลาไทย และกำแพงแก้ว วัดเขาช่องพราน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
o ออกแบบศาลาการเปรียญ วัดโพธิ์บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
o ออกแบบตกแต่งพระอุโบสถวัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่
• พ.ศ. ๒๕๒๒ ออกแบบตกแต่งพิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร ท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
• พ.ศ. ๒๕๒๓ ออกแบบอาคารอนุสรณ์ตระกูลเจียรวนนท์ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จังหวัดชลบุรี
• พ.ศ. ๒๕๒๔
o ควบคุมการปฏิสังขรณ์ พระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
o ควบคุมการปฏิสังขรณ์ ตำหนักสมเด็จฯ วัดราชประดิษฐ์
• พ.ศ. ๒๕๒๕ ออกแบบพระมหาเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
• พ.ศ. ๒๕๒๖ ออกแบบศาลพระลักษมีเทวี ธนาคารกรุงเทพ สีลม กรุงเทพฯ
• พ.ศ. ๒๕๒๗
o ออกแบบเมรุพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี
o ออกแบบพลับพลาที่ประทับในอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ ๒ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
o ออกแบบพระอุโบสถวัดคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
o ออกแบบหอระฆัง วัดคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
• พ.ศ. ๒๕๒๘
o ออกแบบพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี
o ออกแบบเมรุพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ จังหวัดเลย
o ออกแบบพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ พระนางเจ้าศรีสุริโยทัย จังหวัดสระบุรี
• พ.ศ. ๒๕๒๙
o ออกแบบหอพระพุทธรูปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต
o ออกแบบศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดพะเยา
o ออกแบบประตูชัยขุนเจืองธรรมิกราช กองพลที่ ๑๗ จังหวัดพะเยา
o ออกแบบวิหารพระพุทธรูปวัดอนาลโย จังหวัดพะเยา
o ออกแบบพระพุทธรูปนาคปรกสูง ๖๐ เมตร อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
o ออกแบบพระอุโบสถมูลนิธิธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดสมุทรสงคราม
o ออกแบบประตูชัยกองทัพภาพที่ ๓ จังหวัดพิษณุโลก
o ออกแบบเมรุพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่
• พ.ศ. ๒๕๓๐
o ออกแบบพระอุโบสถวัดคลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม
o ออกแบบศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดกระบี่
o ออกแบบพิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร ท่านอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัย จังหวัดอุดรธานี
• พ.ศ. ๒๕๓๑
o ออกแบบสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดสงขลา
o ออกแบบอาคารพุ่มข้าวบิณฑ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธราช
o ออกแบบศาลาไทย ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์
o ออกแบบศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ
o ออกแบบโรงเรียนปริยัติธรรม วัดโพธิ์บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
o ออกแบบหอพระศิวเทพ ถนนปิ่นเกล้านครชัยศรี กรุงเทพฯ
o ออกแบบหอพระภาณุรังษี วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จังหวัดราชบุรี
o ออกแบบพระบรมราชานุสรณ์ ๒ รัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
o ออกแบบศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม (เรือนไทยหมู่) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• พ.ศ. ๒๕๓๒
o ออกแบบหอฉัน วัดสทิงพระ จังหวัดสงขลา
o ออกแบบซ่อมแซมพระอุโบสถจังหวัดสทิงพระ จังหวัดสงขลา
o ออกแบบพระอุโบสถวัดเขาไชยสน จังหวัดพัทลุง
o ออกแบบหอพระพุทธสีหภูมิบาล วิทยาลัยปกครอง กระทรวงมหาดไทย จังหวัดปทุมธานี
• พ.ศ. ๒๕๓๓
o ออกแบบวิหารหลวงพ่อสด วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จังหวัดราชบุรี
o ออกแบบสำนักแม่ชี เรือนไทยหมู่ เสถียรธรรมสถาน ถนนรามอินทรา กรุงเทพฯ
o ออกแบบเรือนไทยหมู่ภาณุวัฒน์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
• พ.ศ. ๒๕๓๔
o ออกแบบศาลารายวัดศิริพงษ์ ถนนรามอินทรา กรุงเทพฯ
o ออกแบบฟาร์มจระเข้ บริษัทฟาร์มจระเข้พัทยา จังหวัดชลบุรี
o ออกแบบศาลาการเปรียญ วัดหนองโดน จังหวัดสระบุรี
o ออกแบบหอพระพุทธพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
• พ.ศ. ๒๕๓๕
o ออกแบบศาลพระทักษะเทวาธิราช
o ออกแบบศาลาพระราชกรณียกิจ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ กรุงเทพฯ
o ออกแบบพระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ ๔ อุทยานวิทยาศาสตร์หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
o ออกแบบหอพระพุทธรูปโรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี
o ออกแบบศาลฎีกา กระทรวงยุติธรรม กรุงเทพฯ
• พ.ศ. ๒๕๓๖
o ออกแบบพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารท่านอาจารย์บุญ จังหวัดสกลนคร
o ออกแบบพระอุโบสถวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ
o ออกแบบเรือนไทยหมู่มูลนิธิขจรประศาสน์ จังหวัดนนทบุรี
o ออกแบบพระอุโบสถวัดป่ามัชฌิมาวาส จังหวัดกาฬสินธุ์
o ออกแบบศาลพระพรหม ธนาคารทหารไทย สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ
o ออกแบบศาลาธรรมแผ่นดินทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
o ออกแบบเมรุวัดเขาช่องพราน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชุบรี
o ออกแบบเมรุวัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
o ออกแบบหอพระพุทธรูป โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
• พ.ศ. ๒๕๓๗
o ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์และศูนย์ฝึกอบรมด้านการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
o ออกแบบศาลพระศิวะและพระแม่อุมา โครงการพงษ์ศิริชัยคอมเพล็กซ์ ตำบลอ้อมน้อย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
o ออกแบบศาลหลักเมืองอุดร จังหวัดอุดรธานี
o ออกแบบพระอุโบสถวัดสิรินทรมหาวิหาร อำเภออ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม
o ออกแบบเมรุถาวรวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม
o ออกแบบพระพุทธรูปใหญ่ ประจำวัดโคกมน ของหลวงปู่ชอบ จังหวัดเลย
o ออกแบบวิหารพระพุทธรูป “พระพุทธเทวประชานาถบพิตร” วัดทรงธรรม อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร
• พ.ศ. ๒๕๓๘
o ออกแบบพระอุโบสถ วัดไทยกุสินารามหาวิหาร ประเทศอินเดีย
o ออกแบบหอพระพุทธรูป “สมเด็จมหาราชทรงครุฑ ภปร.” ประจำโรงเรียนนวมินทราชูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า หมู่บ้านสัมมากร กรุงเทพฯ
• พ.ศ. ๒๕๓๙
o ออกแบบพระอุโบสถ วัดไทยลุมพินีมหาวิหาร ประเทศเนปาล
o ออกแบบบุษบก ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ
o ออกแบบหอพระ”พุทธพุทธารญาณ” โรงเรียนราชวินิตศึกษา จังหวัดลพบุรี
o ออกแบบพระมหาเจดีย์วัดทิพย์รัฐนิมิต (วัดบ้านจิก) จังหวัดอุดรธานี
• พ.ศ. ๒๕๔๐
o ออกแบบพระตำหนักแปรพระราชฐาน อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในโครงการคืนสู่แผ่นดินเกิดลุ่มน้ำปากพนัง สนองพระราชดำริ
o ออกแบบพระอุโบสถวัดแก้วโกรวาราม จังหวัดกระบี่
o ออกแบบหอพระฟาร์มจระเข้ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
• พ.ศ. ๒๕๔๑
o ออกแบบหอประชุม เปรม ๑๐๐ ปี โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
o ออกแบบเจดีย์พระธาตุ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม ตำบลสามโคก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
o ออกแบบศาลาไทยกาญจนาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ณ สวนสาธารณะโมดิอิน กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล
o ออกแบบศูนย์วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
o ออกแบบตกแต่งวิหารพระนาคปรก วัดพระธาตุช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
• พ.ศ. ๒๕๔๒
o ออกแบบบุษบกประดิษฐานพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
o ออกแบบพระพุทธมหามงคลมหาราช อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
• พ.ศ. ๒๕๔๓
o ออกแบบศาลาไทยเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมันนี
o ออกแบบหอระฆัง วัดพุทธปทีป ประเทศอังกฤษ
o ออกแบบตำหนักสมเด็จฯ วัดไทยลุมพินีมหาวิหาร ประเทศเนปาล
• พ.ศ. ๒๕๔๔
o ออกแบบเรือนไทยหมู่ ณ เมืองคลินตัน ประเทศแคนนาดา (ECHO VALLEY RANCH RESORT, Jesmond, Clinton, BC Canada.
o ออกแบบกำแพงแก้วและประตู วัดพุทธปทีป ประเทศอังกฤษ
• พ.ศ.๒๕๔๕
o ออกแบบหมู่เรือนไทย เรือนรับรองสถาบันการแพทย์แผนไทย จังหวัดนนทบุรี
o ออกแบบศาลาหลักเมืองจังหวัดยะลา
• พ.ศ.๒๕๔๖
o ออกแบบพระประธาน วัดพุทธปัญญา จังหวัดนนทบุรี
o ออกแบบพลับพลาสมเด็จพระนางเจ้าฯ จังหวัดปัตตานี
o ออกแบบหอพระโพธิ์ทอง จังหวัดอุดรธานี
• พ.ศ.๒๕๔๗
o ออกแบบพระประธานหยก วัดไทยลุมพินีมหาวิหาร ประเทศเนปาล
o ออกแบบศาลาการเปรียญวัดทับคล้อ จังหวัดพิจิตร
o ออกแบบเรือนไทยวรรณคดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ จังหวัดปทุมธานี
o ออกแบบเมรุฌาปนกิจวัดมงคลทับคล้อ จังหวัดพิจิตร
• พ.ศ.๒๕๔๘
o ออกแบบหอพระมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี
o ออกแบบศาลาไทยอีสเวสเซ็นเตอร์ ฮอนโนลูลู ประเทศฮาวาย
o ออกแบบบุษบกพระบรมสารีริกธาตุ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อำเภออ้อมน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
o ออกแบบพระอุโบสถ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อำเภออ้อมน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
o ออกแบบพระอุโบสถวัดกะเบียด จังหวัดนครศรีธรรมาราช
• พ.ศ. ๒๕๔๙
o ออกแบบหมู่กุฏิสงฆ์ วัดพยัคฆาราม จังหวัดสุพรรณบุรี
o ออกแบบบ้านคุณวิทยา ชนาพรรณ จังหวัดสมุทรปราการ
o ออกแบบพระจตุคามรามเทพ พระประจำจังหวัดกระบี่
o ออกแบบพระไภษัชคุรุไวทูรประภา วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี
o ออกแบบเรือนไทย ศ.อุดม วโรดมสิกขดิตถ์
o ออกแบบพระประธานและพระอุโบสถ วัดโป่งขนมจีน จังหวัดจันทบุรี
o ออกแบบเรือนไทยหมู่ พิพิธภัณฑ์นวัตกรรมภูมิปัญญาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
• พ.ศ.๒๕๕๐
o ออกแบบศาลาไทยเฉลิมพระเกียติ ๘๐ พรรษา เมืองชิคาโก้ ประเทศสหรัฐอเมริกา
o ออกแบบเรือนสปาและศาลาขายเครื่องดื่ม บูรพากอล์ฟพัทยา จังหวัดชลบุรี
o ออกแบบวิหารอนุสรณ์สถาน คุณพงษ์จรี ตันนาภัย วัดกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
o ออกแบบพระมหาเจดีย์ วัดเมือง จังหวัดยะลา
o ออกแบบพระจตุคามรามเทพ จ้าวเศรษฐีศรีวิชัย จังหวัดสงขลา

ตัวอย่างรูปภาพผลงานที่ออกแบบโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคิรี

ผลงานในต่างประเทศ




HAWAII
Project
ผลงาน : The Royal Sala Thai
ศาลาไทยในศูนย์อีสต์เวสต์เซ็นเตอร์
Location
สถานที่ตั้ง : Hawaii, USA.
ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
Year
ปีที่ก่อสร้าง : 2008
๒๕๕๑



INDIA
Project
ผลงาน : The Chapel of Wat Thai Kusinara Mahaviharn
พระอุโบสถวัดไทยกุสินารามหาวิหาร
Location
สถานที่ตั้ง : India
เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย
Year
ปีที่ก่อสร้าง : 1995
๒๕๓๘




GERMANY
Project
ผลงาน : Chaloem Phrakiat Thai Pavilion
ศาลาไทยเฉลิมพระเกียรติ
Location
สถานที่ตั้ง : Hamburg State, Federal Republic of Germany
เมืองฮัมบวก ประเทศเยอรมันนี
Year
ปีที่ก่อสร้าง : 1999
๒๕๔๒




CANADA
Project
ผลงาน : The cluster of Thai house at Echo Valley Resort
เรือนไทยหมู่ ณ เอ็คโค่ วัลเลย์ แรนช์ สปา แอนด์ รีสอร์ท
Location
สถานที่ตั้ง : Clinton City, Vancouver, Canada
เมืองคลินตัน มลรัฐบริติชโคลัมเบีย แคนาดา
Year
ปีที่ก่อสร้าง : 2000
๒๕๔๓


ตัวอย่างผลงานในประเทศ ประเภทอาคารหมู่เรือนทรงไทยเดิม


Project
ผลงาน : The group of 9 Thai houses
เรือนหมู่ ธ ทูลกระหม่อมแก้ว พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย
Location
สถานที่ตั้ง : Nakornnayok
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ วิทยาเขตองครักษ์ จังหวัดนครนายก
Year
ปีที่ก่อสร้าง : 2009
๒๕๕๒



Project

ผลงาน : The centre of culture and tradition
(Cluster of Thai house)
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Location
สถานที่ตั้ง : Chulalongkorn University, Bangkok
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Year
ปีที่ก่อสร้าง : 1988
๒๕๓๑



Project
Project

ผลงาน : The cluster of Thai house at Associated
Professor Dr. Pinyo Suwankiri's house
เรือนไทยหมู่ของ ศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
Location
สถานที่ตั้ง : Bangkok
กรุงเทพฯ
Year
ปีที่ก่อสร้าง : 2004
๒๕๔๗


ตัวอย่างผลงานประเภทวัด และอุโบสถ


Project
ผลงาน : A library named “Library Vichern Dhamma”
อาคารห้องสมุดวิจารณ์ธรรม จิตตภาวันวิทยาลัย
Location
สถานที่ตั้ง : Chittabhavan College, Chonburi
จิตตภาวันวิทยาลัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
Year
ปีที่ก่อสร้าง : 1968
๒๕๑๑


Project

ผลงาน : The Buddha Image Shrine of
Chonburi Hospital
หอพระ โรงพยาบาลชลบุรี
Location
สถานที่ตั้ง : Chonburi
อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Year
ปีที่ก่อสร้าง : 1992
๒๕๓๕


แหล่งที่มาของส่วนที่1 :
http://th.wikipedia.org/wiki
http://art.culture.go.th/
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/art04/07/thai@house/html/house-dr01.html
http://www.thai-architecture.com



*****************************************************************************

ส่วนที่ 2

การวิเคราะห์แนวความคิดในการออกแบบจากอาคารกรณีศึกษาตัวอย่าง

อาคารตัวอย่างที่นำมาศึกษา : เรือนไทยหมู่ของ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี

เรือนไทยหมู่ของ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ซึ่งเป็นบ้านของอาจารย์ภิญโญ หลังนี้มีการออกแบบเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยโดยเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนไทยโบราณ ซึ่งยังคงลักษณะของเรือนไทยดั้งเดิม อย่างครบถ้วน แต่ได้ปรับพื้นที่ในด้านประโยชน์ใช้สอยให้สอดคล้องต่อการดำรงชีวิตแบบสมัยใหม่ โดยจะมุ่งใช้พื้นที่ใช้สอยทุกตารางนิ้ว ภายในเรือนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดเนื่องจากราคาที่ดินในกรุงเทพฯมีราคาสูงขึ้น พื้นที่ใต้ถุนจึงไม่ควรปล่อยร้างไว้ดังเช่นเรือนไทย ในสมัยก่อน แต่ปรับเปลี่ยนเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ห้องจัดเลี้ยง ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องประชุม และห้องบรรยายในชั้นใต้ดิน




แนวความคิดในการออกแบบบ้านของอาจารย์ภิญโญท่านคือ การผสมผสานระหว่างความเป็นไทยโบราณเข้ากับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่โดยประยุกต์การใช้งานเพื่อรองรับทุกๆกิจกรรมที่เกิดขึ้น การจัดวางผังของตัวบ้านยังเป็นแบบโบราณคือ วางผังให้รับลม และหันตัวอาคารให้ขวางกับแนวของแสงแดด และยกใต้ถุนสูง แต่ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนคือเรื่องของโครงสร้างที่ใช้สร้างอาคาร ในส่วนใช้ใต้ถุนจะมีฟังก์ชั่นเพิ่มเข้ามานั่นคือ ห้องครัว ห้องรับประทานอาหารห้องรับแขก ห้องทำงาน ห้องนั่งเล่น เป็นส่วนที่มีเพิ่มมาแตกต่างจากไทยเดิม และตัวคานใช้เป็นโครงสร้างเหล็กชนิด “i-beam” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแรงที่ดีกว่าไม้ แต่หล่อปูนปิด เพื่อให้เป็นรูปทรงเช่นเดียวกับตัวบ้านไทยโบราณ






การวางผังก็เหมือนเรือนไทยทั่วไปโดยปกติ นั่นคือหอกลางจะรับลมทิศใต้ เจาะหน้าต่างรับลม การวางเรือนวางตามตะวันให้เย็น ชานด้านนอกก็ปลูกต้นลำดวน หลักในการเลือกต้นไม้ให้เข้ากับบ้านมี 5 ข้อ คือหนึ่งใบไม่ร่วงมาก สองโตช้าเพื่อป้องกันการไปพาดชายคา สามไม่มีบุ้ง สี่ดอกหอม ห้ารากไม่ทำลายอาคาร





อาจารย์ท่านได้นำหลักการออกแบบของ Modern Living เข้ามาช่วยในเรื่องของรูปลักษณ์ภายนอกและการใช้งาน นั่นก็คือการผสมผสานระหว่างยุคเก่าและยุคใหม่ที่ลงตัวโดยเฉพาะในเรื่องของการใช้สอยพื้นที่ และ วัสดุต่างๆ ตัวอย่างเช่น บ้านในสมัยก่อนนั้น จะไม่นิยมใช้พื้นที่บริเวณใต้ถุนบ้าน ยกสูงเพื่อหนีน้ำท่วม และความสูงก็ไม่สูงมากนัก แต่สำหรับบ้านทรงไทยหลังนี้ได้ผสมผสานให้ชั้นใต้ถุนเป็นพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติม นั่นก็คือ ชั้น1ที่เกิดขึ้น ประกอบไปด้วยห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ห้องทำงาน ห้องครัว และ ห้องรับประทานอาหาร ซึ่งในหลาย จุดเป็นองค์ประกอบใหม่ ที่เรือนไทยสมัยก่อนไม่มี นอกจากนี้ยังได้เพิ่มห้องใต้ถุนเอาไว้ด้วยเพื่อสำหรับบรรยายหรือการเรียนการสอนเพิ่มเติมในบ้าน ส่วนในเรื่องของวัสดุได้มีการนำวัสดุสมัยใหม่ ที่นอกเหนือจากไม้ที่เป็นของเดิมเข้ามาด้วย นั่นคือส่วนของชั้น1 จะเป็นไม้ผสมคอนกรีต เพื่อให้มีความคงทนมากยิ่งขึ้น

แหล่งที่มาในส่วนที่ 2 :
รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคิรี
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/art04/07/thai@house/html/house-dr01.html
http://www.thai-architecture.com/th_houses/thai_house001th.html

หมายเหตุ ในส่วนที่2 เป็นส่วนที่ผู้เขียนจัดทำขึ้นและ วิเคราะห์ท้้งหมด ห่างผิดพลาดประการใด จึงขอ อภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น